วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

การทดลองที่ 2 ปฎิกิริยาระหว่างกรดหรือเบสกับสารบางชนิด

การทดลองที่ 2 ปฎิกิริยาระหว่างกรดหรือเบสกับสารบางชนิด

ตอนที่ 1 ปฎิกิริยาระหว่าง HCL กับ CaCO3
1. นำหินอ่อนประมาณ 5 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด แล้วใส่ในหลอดทดลองขนาดกลาง
2. เติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 1.0 mol/dm35cm3ปิดด้วยจุกยางที่มี หลอดนำแก๊สเสียบอยู่ทันที ผ่านแก๊สที่ได้ลงในน้ำปูนใส สังเกตการเปลี่ยนแปลง
3. เมื่อสิ้นสุดปฎิกิริยา รินสารละลายจากหลอดทดลองในข้อ 2 ใส่ในถ้วยกระเบื้อง ระเหยให้แห้งบันทึกผล

ตอนที่ 2 ปฎิกิริยาระหว่าง NaOH กับ FeCl3
1. ใส่สารละลาย NaOH เข้มข้น 1.0 mol/ dm3 3 cm3ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง
2. เติมสารละลาย FeCl2เข้มข้น 1.0mol/dm33 cm3ลงในสารละลายข้อที่ 1 เขย่า สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล
3. กรองสารในข้อ 2 แล้วนำของเหลวที่กรองได้ไประเหยในถ้วยกระเบื้อง บันทึกผล

ผลการทดลอง
การทดลองตอนที่ 1 เมื่อผสมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกกับแคลเซียมคาร์บอเนตจะได้ฟองแก๊สเกิดขึ้น ซึ่งทดสอบได้ว่าเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อนำส่วนที่เป็นของเหลวไประเหยแห้ง จะได้ของแข็งสีขาวซึ่งคือ แคลเซียมคลอไรด์ ปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นสามารถเขียนสมการได้ดังนี้

CaCO3(S) + 2HCl(aq)CaCl2(aq) + H2O(l) +CO2
CaCl2 (aq)
CaCl2(S)
การทดลองตอนที่ 2 เมื่อผสมสารละลายโซเดียมไฮดรอไซด์กับสารละลายไอร์ออน (III) คลอไรด์ จะได้ตะกอนสีน้ำตาลคล้ายวุ้นซึ่งคือไอร์ออน (III) ไฮดรอกไซด์ เมื่อนำส่วนที่เป็นของเหลวในหลอดไประเหยแห้ง จะได้ของแข็งสีขาว ปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นเขียนสมการได้ดังนี้

FeCl3(aq)+ 3NaOH(aq)Fe(OH)3(S) +3NaCl(aq)
NaCl(aq)
NaOH(S)

จึงสรุปได้ว่าการทดลองทั้งสองตอนนี้ ได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารประกอบของเกลือที่ละลายได้ในน้ำ

นอกจากนี้ยังมีสารอื่นที่สามารถทำปฎิกิริยากับกรดหรือเบสแล้วได้เกลือเกิดขึ้น เช่น โลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก จะได้แมกนีเซียมคลอไรด์กับแก๊สไฮโดรเจน โลหะทองแดงกับกรดไนตริกเข้มข้นได้คอปเปอร์ (II) ไนเตรตกับแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งได้ศึกษามาแล้ว นอกจากนี้โลหะบางชนิดก็สามารถทำปฎิกิริยาได้ทั้งกรดและเบส เช่น สังกะสีและอะลูมิเนียม

สามารถทำปฎิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกและสารละลายโซเดียมไฮดรอไซด์ได้แก๊สไฮโดรเจน
กรดและเบสนอกจากจะทำปฎิกิริยาโดยตรงแล้ว ทั้งกรดและเบสยังสามารถทำปฏิกิริยากับสารอื่นได้ด้วย และได้สารประกอบประเภทเกลือตามชนิดของกรดและเบสหรือชนิดของสารตั้งต้นที่เข้าทำปฏิกิริยากัน เมื่อพิจารณาสูตรสารประกอบของเกลือชนิดต่างๆ พบว่าประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบ เกลือจึงเป็นสารประกอบไอออนิกที่ประกอบด้วยไอออนบวกที่ไม่ใช่H+และไอออนลบที่ไม่ใช่ OH-หรือO2- เกลือทุกชนิดเป็ยสารอิเล็กโทรไลต์แก่ แต่สารประกอบของเกลือบางชนิดละลายได้ในน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น